ที่มาของเรื่อง
มาจากเรื่อง “บทเสภาขับระหว่างชุดระบำสามัคคีเสวก”
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เป็นบทเสภาสำหรับขับอธิบายนำเรื่องในการฟ้อนรำตอนต่างๆ
เพื่อให้พิณพาทย์ได้พักเหนื่อย
ลักษณะคำประพันธ์
เป็นกลอนสุภาพ (กลอนเสภา)
เนื้อเรื่องย่อ
ชาติใดที่มีการรบราฆ่าฟันกัน ชาตินั้นจะไม่มีเวลาที่จะมาสนใจศิลปะ
แต่ถ้าชาติบ้านเมืองสงบก็มีเวลามาสนใจและนิยมงานศิลปะแขนงต่างๆ
เพราะศิลปะเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม ให้คุณค่าทางด้านจิตใจ
ใครที่ไม่รักงานศิลปะก็เหมือนกับคนป่า
ดังนั้นงานช่างทุกชนิดจึงเป็นงานที่ชาติไทยเราสมควรที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้ก้าวหน้าไปให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ
ลักษณะเด่นของเรื่อง
๑.เป็นกลอนที่ใช้ถ้อยคำภาษาง่ายๆ
แต่ฟังไพเราะ มีการอุปมาอุปไมย
เปรียบอย่างสมเหตุสมผลบางตอนบางบทของเสภานี้จึงเป็นที่จดจำติดปากของคนไทยเรา เช่น
อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมบรรโลมสง่า
ใครๆ
เห็นไม่เป็นที่จำเริญตา
เขาจะพากันเย้ยให้อับอาย
๒.เป็นเรื่องที่โน้นน้าวใจให้ผู้อ่านมีความรัก ความนิยมในงานศิลปะ
ชี้ให้เห็นความสำคัญและคุณค่าของศิลปะอันงดงามของไทยอันเป็นมรดกตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ
สาระสำคัญ
บทเสภาสามัคคีเสวกมีลักษณะต่างจากเสภาเรื่องอื่นๆ คือ
เป็นบทเสภาขนาดสั้น แบ่งออกเป็น ๔ ตอน แต่ละตอนมุ่งเสนอแนวคิดมากกว่าการเล่าเรื่อง
โดยมีความคิดสำคัญ ที่ผูกร้อยแต่ละตอนเข้าด้วยกันคือ
ความสมานสามัคคีและความจงรักภักดีของข้าราชการต่อองค์พระมหากษัตริย์และต่อประเทศชาติ
เนื้อหาสาระโดยสรุปของแต่ละตอนมีดังนี้
ตอนที่ ๑ กิจการแห่งพระนนที
มีเนื้อความสรรเสริญพระนนทีผู้เป็นเทพเสวก
เมื่อพระอิศวรจะเสด็จไปแห่งใด
พระนนทีจะแปลงเป็นโคอุสุภราชหะพระอิศวรประทับ
ตอนที่ ๒ กรีนิรมิต
มีเนื้อความสรรเสริญพระคเณศเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาและเป็นผู้สร้างช้างต่างๆ
ในแผ่นดินเพื่อประดับพระยศของพระมหากษัตริย์
การแสดงระบำเริ่มต้นด้วยช้างประจำทิศทั้ง 8
ออกมาถวายบังคมพระคเณศและจับระบำยักษ์กาลเนมีออกมาไล่จับช้าง
พระคเณศโกรธจึงไล่ลงไปต่อสู้กับยักษ์และขับไล่ยักษ์ไปได้
พระคเณศได้มอบช้างประจำแต่ละทิศให้ท้าวโลกบาลทั้ง 8
และร่ายมนต์สร้างพระยาช้างเผือกจากนั้นให้หมอเฒ่าจับช้างเผือกแล้วตั้งกระบวนแห่พระยาช้างเผือก
ตอนที่ ๓ วิศวกรรมา
มีเนื้อความสรรเสริญพระวิศวกรรมผู้เป็นเทพเจ้าแห่งการก่อสร้างและการช่างนานาชนิดกล่าวถึงความสำคัญของศิลปะที่มีต่อชาติ
การแสดงระบำเริ่มจากพระวิศวกรรมออกมารำ ต่อนางวิจิตรเลขามารำทำท่าวาดภาพถวาย
และพระรูปการมารำทำท่าปั้นรูปถวาย จากนั้นมีการแสดงอาวุธที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างงดงาม
และปิดท้ายด้วยระบำนพรัตน์
ตอนที่ ๔ สามัคคีเสวก
มีเนื้อความกล่าวถึงการสมานสามัคคีในหมู่ข้าราชการ
ให้บรรดาข้าราชการเหล่านั้นมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ซื่อตรง
รักษาเกียรติยศและขยันทำงาน การแสดงระบำเริ่มด้วยราชเสวก ๒๘ หมู่
เดินแถวสวนสนามและร้องเพลงแสดงความจงรักภักดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น