ความเป็นมา
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
เป็นบทประพันธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง
ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้นตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโดยชลมารคไปมนัสการพระพุทธบาท
จ.สระบุรี
ทั้งนี้่คำว่าธารทองแดงเป็นชื่อลำน้ำที่เขาพระพุทธบาท
ที่อยู่ในบริ เวณพระพุทธบาท อันเป็นที่รื่นรมย์ด้วยธรรมชาติ มีสัตว์ต่าง ๆ
และพันธุ์ไม้ต่าง ๆ อยู่มากมาย
นอกจากนี้ ที่แห่งนี้เป็นบริเวณที่ตั้งพระตำหนักธารเกษม
ที่มีมาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ในหนังสือปริทรรศน์แห่งวรรณคดีไทยของ
"นายตารา ณ เมืองใต้" ซึ่งเรียบเรียงเมื่อ พ.ศ. 2484 เรียกชื่อวรรณคดีเรื่องนี้ว่า "กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง"
ตามลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่อง
ต่อมาเมื่อกรมศิลปากรอนุญาตให้นำเรื่องนี้ไปพิมพ์รวมกับพระนิพนธ์เรื่องอื่นของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
เพื่อเผยแพร่ในงานพระราชทานเพลิงศพพระยาเลขวณิชธรรมวิทกษ์ (เยี่ยม เลขะวณิช) ใน
พ.ศ. 2505 ก็ได้เขียนคำนำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้เรียกชื่อว่า
นิราศ โดยเทียบกับชื่อพระนิพนธ์อีกเรื่องหนึ่งที่แต่งคู่กันคือ
กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก
ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเรื่องนี้มีชื่อว่ากาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง
และเข้าใจเช่นนี้มาจนกระทังปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม
ในหนังสือเรียนวรรณคดีวิจักษ์จะใช้ชื่อเดิมว่า กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
ลักษณะคำประพันธ์
กาพย์ห่อโคลง
คำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลง มีลักษณะทางฉันทลักษณ์ดังนี้
ขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี ๑ บท แล้วตามด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บท ใจความเหมือนกัน
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง นั้นมีกาพย์ยานีและโคลงสี่สุภาพรวม ๑๐๘ คู่
และโคลงปิดท้ายมี ๒ บท
จุดประสงค์ในการแต่ง
เป็นบทชมธรรมชาติ เพื่อความเพลิดเพลินในการเดินทาง
ที่มาของเรื่อง
หนังสือปริทรรศน์ วรรณคดีไทยของนายตำรา ณ เมืองใต้
กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อของบทประพันธ์ที่แต่ขึ้นโดยใช้กาพย์ยานี ๑๑ สลับกับโคลง ๔ สุภาพ กาพย์ยานี ๑๑ กับโคลง ๔ สุภาพนั้นจะต้องมีข้อความอย่างเดียวกัน คือให้วรรคที่ ๑ ของกาพย์ยานีกับบาทที่ ๑ ของโคลง ๔ สุภาพจะบรรยายข้อความอย่างเดียวกัน หรือบางทีก็ให้คำต้นวรรคของกาพย์กับคำต้นบทของโคลงเป็นคำเหมือนกัน ส่วนบัญญัติหรือกฎข้อบังคับจะเหมือนกับกฎของกาพย์ยานี ๑๑ และโคลง ๔ สุภาพทั้งสิ้น
สังเกตว่าโคลงแต่ละบทจะขยายความจากกาพย์แต่ละบทได้เทียบเท่าพอดีนิยมใช้ในการพรรณนาความรักหรือความงามของธรรมชาติโดยใช้ถ้อยคำกระทบอารมณ์ สร้างความสะเทือนใจ ใช้โวหารเปรียบเทียบกินใจ ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วมไปกับกวีด้วย กาพย์ห่อโคลงมีแผนผังดังนี้
ตัวอย่างคำประพันธ์
ยูงทองย่องเยื้องย่าง รำรางชางช่างฟ่ายหาง
ปากหงอนอ่อนสำอาง ช่างรำเล่นเต้นตามกัน
ยูงทองย่องย่างเยื้อง รำฉวาง
รายร่ายฟ่ายเฟื่องหาง เฉิดหน้า
ปากหงอนอ่อนสำอาง ลายเลิศ
รำเล่นเต้นงามหง้า ปีกป้องเป็นเพลง
*ให้สังเกตว่าคำแรกในกาพย์แต่ละวรรคจะมาเป็นความในบทแรกของโคลงแต่ละบท ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของกาพย์ห่อโคลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น